มนุษยสัมพันธ์ (Human
Relations)
ความหมายของมนุษยสัมพันธ์
อริสโตเติล ( Aristotle ) นักปราชญ์ชาวกรีก อธิบายว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคมมนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นเหล่ามนุษย์ อยู่ร่วมกัน เป็นกลุ่มเป็นพวก มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันการที่มนุษย์อยู่ร่วมกันทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยซึ่งเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่าการที่มนุษย์มีสัมพันธ์กันมนุษย์จึงเป็นสัตว์สังคมดังที่นักปราชญ์ได้กล่าวไว้
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน( 2525 : 402 )ในปี พ.ศ. 2538 ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายเพิ่มเติมว่า
มนุษยสัมพันธ์
หมายถึงความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์
ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันมนุษยสัมพันธ์ ( Human Relationships
) เป็นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์เป็นหมู่เป็นคณะ
หรือกลุ่มโดยมีการติดต่อสื่อสารกัน ระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม
เพื่อให้ทราบความต้องการของแต่ละบุคคล หรือกลุ่มรวมไปถึง วิธีการจูงใจ
และประสานความต้องการ ของบุคคล
และกลุ่มให้ผสมผสานกลมกลืนกันตามระบบที่สังคมต้องการ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
( 2538 : 628 )
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง
การแสวงหา เพื่อทำความเข้าใจ โดยการใช้ลักษณะรูปแบบการติดต่อสัมพันธ์กัน
ระหว่างบุคคลเป็นผล ก่อให้เกิดความเชื่อมโยง เพื่อให้ได้ผลสำเร็จ
ตามเป้าหมายขององค์การ ของแต่ละบุคคล ที่ได้กำหนดไว้ อำนวย แสงสว่าง
ภาพที่1 มนุษยสัมพันธ์ในการทํางาน
ที่มา : ( uptraining.
2559 ) |
หลักการมีมนุษยสัมพันธ์
บุคคลจะสามารถมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้นั้นจะต้องรู้จักตนเอง ผู้อื่น สังคม สภาพแวดล้อม จึงจะสามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัว สังคม และประเทศชาติได้อย่างมีความสุขแนวคิดและหลักมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลที่จะต้องยึดถือเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความเหมาะสมกับบุคคลอื่นๆ ต่อไปการทำงานร่วมกันในองค์กรให้สำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยดีนั้น ทุกคนต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจึงจะช่วยให้การทำงานสำเร็จได้การทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายเพื่อผลผลิตสูงสุดนั้น บุคลากรในหน่วยงานต้องมีลักษณะดังนี้ พรรณทิวา วรรณพฤกษ์. (๒๕๕๓).
1.
สุภาพอ่อนโยน มีกิริยาที่สุภาพ พูดจาไพเราะ ไม่โอ้อวด
2. มีน้ำใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่น
3. ยิ้มแย้มแจ่มใส
4. รับผิดชอบ
5. ร่วมมือ
รู้จักทำงานเป็นทีม
6. ไม่ทำตัวมีปัญหา
7. คิดก่อนพูด
8. ตรงต่อเวลา
9. ไม่นินทา
10. อย่าโอ้อวด
11. จริงใจ
12. รู้จักอาวุโส
13. ไม่อิจฉา
14. มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
15. ไม่โกรธง่าย อดทน
ควบคุมอารมณ์ได้
ภาพที่2 มนุษยสัมพันธ์ในการทํางาน
ที่มา : ( pangpond.
2559 ) |
คุณลักษณะของบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
บุคคลทุกคนมักต้องมีกลุ่มมีพวก
ตัวอย่างกลุ่ม หรือพวกของกลุ่มบุคคล เช่น ครอบครัวเพื่อนฝูง ทีมงาน สมาคม ชมรม
ผู้ทำงานใน หน่วยงาน เดียวกัน หรือแม้กระทั่ง การทำงานในองค์การธุรกิจก็จัดว่า
เป็นกลุ่ม หรือพวกประเภทหนึ่ง ประกอบด้วย คนจำนวนมาก มาอยู่ร่วมกัน
และทำงานร่วมกันในบทบาทหน้าที่ต่างๆ กันไป ซึ่งแต่ละคน มักมีเพื่อนฝูงร่วมงาน
ทั้งที่อยู่ในระดับที่เหนือกว่าเท่ากัน และเพื่อนร่วมงานที่ต่ำกว่า
ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด บุคคลเหล่านี้ต้องทำงานเกี่ยวข้อง
และติดต่อสัมพันธ์กันถ้าหากบรรยากาศ ของความสัมพันธ์เป็นไปด้วยดี
มักส่งผลให้บุคคลนั้นเป็นสุข เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ความสุขส่วนใหญ่
ของชีวิตจึงมักขึ้นอยู่กับ มนุษยสัมพันธ์ ทั้งในแง่การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
และทำงานร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นเพื่อให้มีความสุข ในการอยู่ร่วมกับ บุคคลอื่น
และทำงานร่วมกับผู้อื่นควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ อำนวย
แสงสว่าง. (๒๕๔๓).
1. มีท่าทางทีดี (Handssome)
2. มีบุคลิกภาพดี (Personality)
3. มีความเป็นเพื่อน (Friendiness)
4. มีความอ่อนน้อม (Modesty)
5. มีน้ำใจช่วยเหลือ (Helpful)
6. ให้ความร่วมมือ (Cooperation)
7. มีความกรุณา (Kindness)
8. สร้างประโยชน์ (Contribution)
9. การสร้างสรรค์ (Constructive)
10. มีอารมณ์ดี (Good
Emotion)
11. มีความกระตือรือร้น (Enthusiasm)
12. มีความรับผิดชอบ (Responsibility)
13. มีความอดทน (Patient)
14. มีความขยัน (Diligent)
15. มีความพยายาม (Attempt)
16. มีปฎิภาณ (Intelligence)
ข้อมูลอ้างอิง
พรรณทิวา วรรณพฤกษ์. (๒๕๕๓). ความหมายของมุษยสัมพันธ์. [Online].
Available :https://www.l3nr.org [๒๕๕๙ , กรกฎาคม ๒๕]
อนันท์ งามสะอาด. (๒๕๕๙). หลักการมีมนุษยสัมพันธ์. [Online].
Available http://thethanika.blogspot.com [๒๕๕๙ , กรกฎาคม ๒๕]
อำนวย
แสงสว่าง. (๒๕๔๓). การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน. [Online].
Available http://phillystationinc.com [๒๕๕๙ , กรกฎาคม ๒๕]ผู้เขียน
นางสาวญาณิศา จันทาพูน
รหัสนักศึกษา 5711011809007
รหัสนักศึกษา 5711011809007
นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
คณะวิทยาการจัดการ
สาขาเลขานุการทางการแพทย์
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ที่ปรึกษา